ไข้ทับระดู ภัยเงียบของผู้หญิง อันตรายถึงตายได้!
ภาวะไข้ทับระดู คืออาการเป็นไข้ระหว่างมีประจําเดือนค่ะ เมื่อได้ยินชื่อของโรคแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่คงคิดถึงเพียงแต่ว่าเป็น โรคที่มีอาการป่วย เป็นไข้ ไม่สบายในช่วงเวลาของการมี ประจําเดือน บางคนแค่กินยาแก้ปวดลดไข้ธรรมดาก็หาย แต่ในขณะที่ บางคนทานยาแล้วอาการกลับไม่ดีขึ้น ดังนั้นสาวๆ ควรรู้วิธีดูแลและรับมือหากเลี่ยงอาการป่วยนี้ไม่ได้
ไข้ทับระดู จะเป็นในระหว่างที่มีระดูได้ครึ่งวัน หนึ่งวัน หรือสองวัน มักจะมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้องน้อย ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีประจําเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็น หมอจะตรวจวินิจฉัยโรคจากอาการไข้สูงและกดเจ็บมาก บริเวณท้องน้อยข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง บางครั้งพบอาการซีดหรือภาวะช็อกร่วมด้วย หมอจะหาสาเหตุด้วยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อหาเชื้อหรืออาจมีการตรวจ อัลตร้าซาวด์ร่วมด้วย
ไข้ทับระดู ที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง โดยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดภายหลังทานยาแก้ ปวดลดไข้ก็หายได้ สาวๆ จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของ ผู้หญิงที่เกิดขึ้นระหว่างมีประจําเดือนซึ่งบางครั้งอาจมีอาการอ่อนเพลีย หรือปวดประจําเดือนร่วมด้วย
ไข้ทับฤดู ที่มีสภาวะโรคแอบแฝง จะมีอาการไข้ขึ้น สูงหนาวสั่น ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องน้อย มี ตกขาวปนหนองออกมาระหว่างมีประจําเดือน ซึ่งบางครั้งประจําเดือนอาจมีมากผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นในทุกๆ รอบเดือน นั่นเป็นสัญญาณของโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง
เนื่องจากขณะมีประจําเดือนร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตเจน และ โปรเจสเตอโรน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ทําให้ระบบร่างกายเสียสมดุลมีภูมิ ต้านทานลดน้อยลงจึงมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ อีกทั้งมีโอกาสติดเชื้อในมดลูก และปีกมดลูกได้มากกว่าปกติอีกด้วย ไข้ทับระดู หรือทางการแพทย์เรียกว่า โรคอุ้งเชิงกราน อักเสบเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือการไม่รักษาความสะอาด บริเวณจุดซ่อนเร้น นอกจากนี้ยังเป็นที่มาของ โรคปีกมดลูกอักเสบ ที่เกิด จากการได้รับเชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกัน ทาง การแพทย์เรียก เชื้อแบคทีเรียนี้ว่า คลามีเดีย เชื้อทีว่านี้จะเข้า ไปทําลาย ท่อรังไข่ หรืออวัยวะใกล้เคียงได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะ เกิดการอักเสบของอุ้งเชิงกรานสูงถึงร้อยละ 40 ก่อให้เกิดโรค แทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นหมัน มีบุตรยาก หรือเสียชีวิต ได้ในที่สุด โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 25 ปีเนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อนั้นเอง